เมนู

2. อธิปติปัจจัย


[146]1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีลแล้ว กระทำกุศลกรรมนั้น ให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลาย ที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้วพิจารณา, กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็น
นเหตุสเหตุกธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
และนเหตุอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้เเก่
อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคล ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ
หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิด
ขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

3. อนันตรปัจจัย


[147] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจองอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู ฯลฯ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
2. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จุติจิตที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็น
นเหตุอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ภวังค์ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ.
ภวังค์ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่เป็นนเหตุอเหตุก-
ธรรม.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็น
นเหตุอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย